ปุ๋ยชีวภาพ ผลิตจากจุลินทรีย์ดี มีธาตุอาหารครบ 16 ธาตุ ใช้ง่าย สะดวก – Powerful

ปุ๋ยชีวภาพ
Contents hide

การปลูกต้นไม้ พืช ผัก นั้นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต่อการเพาะปลูก คงหนีไม่พ้นเรื่องของปุ๋ย หรือธาตุอาหารพืช เพื่อให้เขาเจริญเติบโตงอกงาม ผลผลิตเป็นไปตามความคาดหวังของผู้ปลูก

ซึ่งปุ๋ยที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในบ้านเราก็จะมี 2 กลุ่ม ได้แก่

  • ปุ๋ยเคมี และ
  • ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งปุ๋ยชีวภาพ มีอะไรบ้าง นั้นมีทั้งแบบปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ชนิดน้ำ และชนิดป่น

แต่ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปุ๋ยเคมี เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว หาง่าย แต่การใช้ปุ๋ยเคมีนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลเสียหายต่อดิน ความปลอดภัยของผู้ปลูก สัตว์เลี้ยง ผู้บริโภคจากสารตกค้างในผลผลิต

ดังนั้น ปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็นทางเลือกและทางรอดในอนาคต สำหรับผู้ปลูกพืช ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ขอแค่มีองค์ความรู้เพียงพอ เข้าใจถูกต้องก็สามารถผลิตเองได้ไม่ยาก

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ คืออะไร

ปุ๋ยชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร หมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืช ภาษาอังกฤษนิยมใช้ Bio Fertilizer หรือ organiic Fertilizer

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพนั้นดี แต่มีความยุ่งยาก

วิธีทำปุ๋ยชีวภาพ นั้นมีความยุ่งยากในการจัดหาวัตถุดิบ เช่น มูลสัตว์ พืชสด อุปกรณ์ต่าง ฯลฯ ประกอบกับต้องใช้เวลายาวนานในการย่อยอินทรีย์วัตถุให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารสำหรับพืช

และอีกเหตุผลคือเคยชินกับวิธีการแบบทำตามๆกันมา จึงทำให้การผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้นยังมีทำกันเฉพาะกลุ่มเล็กๆ เนื่องจากยังขาดองค์ความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้มีคุณภาพ

ซึ่งการลองผิดลองถูกนั้นต้องใช้เวลา เลยยังคงใช้ปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปัจจุบัน

ปุ๋ยชีวภาพ ทำมาจากอะไร

ปุ๋ยชีวภาพของทางกลุ่มเกษตรกรชิมลอง (erev) ผลิตมาจากจุลินทรีย์ดีหลากหลายสายพันธุ์ที่รวบรวมมาจากทั่วโลก เพาะเลี้ยงและพัฒนาในห้องแลป เพื่อให้เหมาะสมกับการปลูกพืชในประเทศของเรา

ปุ๋ยชีวภาพ
bio fertilizer

ซึ่งประกอบไปด้วยจุลินทรีย์เข้มข้นหลายสายพันธุ์ ที่แบ่งตัวแบบทวีคูณจาก 100 เซลล์ เป็น 10,000 และจาก 10,000 เซลล์ เป็น 100 ล้านเซลล์ ภายใน 4-6 ชั่วโมง

จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอายุสั้นเพียง 48-72 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเซลล์จุลินทรีย์ตายลง พวกเขาก็จะกลายเป็นธาตุอาหารของพืชครบ 16 ธาตุ โดยจุลินทรีย์ดีหลากหลายสายพันธุ์นี้ จำแนกแบบชีวภาพได้ 8 กลุ่ม ได้แก่

1.กลุ่มให้ธาตุไนโตรเจน (N)

จุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศและเปลี่ยนให้เป็นไนเตรตซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ได้ ได้แก่ 

  • อะโซโตแบคเตอร์
  • ไรโซเบียม (Nitrobacter sp.)
  • ไนโตรแบคเตอร์ (rhizobium sp.) 

2.กลุ่มย่อยฟอสเฟต (P)

กลุ่มนี้ทำหน้าที่ย่อยฟอสฟอรัสในดินละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ได้แก่

  • เชื้อราและแอสเปอร์จิลลัส
  • ฟิวซาเรียม (Fusarium sp.)
  • เพนนิซิลเลียม (Penicillium sp.)

3.จุลินทรีย์กลุ่มย่อยโปรแตสเซียม (K)

กลุ่มนี้สามารถละลายโปรแตสเซียมในดินให้ละลายออกมาในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ ได้แก่

  • แบคทีเรียกลุ่มบาซิลลัส 
  • บาซิลลัส (Bacillus sp.) 
  • มูคอร์ (Mucor sp.)

4.จุลินทรีย์กลุ่มให้ธาตุอาหารรองแก่พืช (Ca, Mg, S)

จุลินทรีย์กลุ่มนี้เมื่อตายจะถูกจุลินทรีย์ตัวอื่นย่อยสลายเปลี่ยนสภาพเป็นกลุ่มธาตุอาหารรองให้แก่พืช ได้แก่

  • ยีสต์กลุ่ม 
  • แคนดิดา (Candida sp.)
  • แซคคาโรไมซีส (Saccharomyces sp.)

5.จุลินทรีย์ กลุ่มที่ผลิตฮอร์โมนพืช

เช่น กลุ่มบาซิลลัส สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิลเบอเรลลิน และไซโตไคนิน ซึ่งช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

  • เบอโคลเดอร์เรีย (Burkholderia sp.)
  • ซูโดโมแนส (Pseudomonas sp.)

6.จุลินทรีย์กลุ่มทำหน้าที่เร่งย่อยสลายซากพืช และซากสัตว์

ซึ่งได้แก่

  • กลุ่มแอสเพอร์จิลลัส และเซลลโมแนส
  • แอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus sp.)
  • คลอสตริเดียม (Clostridium sp.)

7.จุลินทรีย์กลุ่มผลิตสารป้องกัน ทำลายเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช

ช่วยป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียก่อโรค ได้แก่

  • แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus sp.)
  • คีโตเมียม (Chaetomium sp.)

8.จุลินทรีย์กลุ่มที่สร้างสีสันให้กับพืช

ผลิตสารให้สีที่เรียกว่า แคโรทีนอยส์ (สารสีเหลือง,สารสีส้ม) และแอสตาแซนทิน (สารสีแดง) เมื่อพืช ผัก ได้รับสารดังกล่าว จะช่วยเพิ่มสีสันสวยงามน่ารับประทาน ได้แก่

  • พัฟเฟียโรโดไซมา (Phaffia rhodozyma)
  • โรโดทอรูลา (Rhodotorula sp.)
  • Pseudomonas syringae

จุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช หรือปุ๋ยชีวภาพ ประโยชน์มีหลากหลาย

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช “อีเรฟ” นอกจากมีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมครบทั้ง 16 หมู่แล้ว ยังมีความปลอดภัยต่อเกษตรกร ผู้เพาะปลูก ดังนี้

  1. ปลอดภัย ไร้สารเคมี ไม่มีสารตกค้าง
  2. ขณะฉีดพ่นไม่จำเป็นต้องสวมอุปกรณ์ป้องกัน
  3. หลังฉีดพ่นสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทานได้เลย โดยที่ไม่มีสารตกค้าง
  4. ปลอดภัยต่อ คน เด็กเล็ก และสัตว์เลี้ยง
  5. ไม่มีส่งกลิ่นรบกวน

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพ ข้อดี ข้อเสีย ได้แก่อะไร

แม้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบชีวภาพใช้เองจะมีข้อดีอยู่มากมาย ซึ่งจะช่วยลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีลงเป็นจำนวนมากก็ตาม หากสภาพแวดล้อม กระบวนการผลิต ไม่เหมาะสม หรือไม่องค์ความรู้เกี่ยวกับที่มาของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นปุ๋ยนั้นไม่เพียงพอ อาจส่ผลเสีย เกิดปัญหาได้ปุ๋ยที่ไม่มีคุณภาพ หรือมีจุลินทรีย์ที่ส่งผลเสียต่อพืชปะปน จนทำให้ต้นไม้อ่อนแอ มีปัญหาโรคพืช และแมลงศัตรูพืชระบาดก็เป็นไปได้

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีทำปุ๋ยชีวภาพ

  • วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์สำหรับปลูกผักสวนครัวและผักออแกนิค กดลิงค์ 
  • ต้องการปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงแต่ขี้เกียจ ก็สามารถเขาไปเลือกอุดหนุนผลิตภัณฑ์อีเรฟ ได้ที่นี่
  • การผลิตปุ๋ยตามแนวทางของลุงสุเทพ กุลศรี

เพิ่มเพื่อนทางไลน์ @erevthai

Rating: 5 out of 5.