วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์สำหรับปลูกผักสวนครัวและผักออแกนิค

ปุ๋ยอินทรีย์

         นับวันกระแสการปลูกผักออกแกนิคไว้รับประทานเอง เริ่มมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นอยู่เรื่อยๆ เพราะพืชผัก ผลไม้ ที่เราซื้อมารับประทานนั้นความปลอดภัยจากการปนเปื้อนน้อยมาก แม้กระทั่งพืชผักที่ได้รับรองมาตรฐานออแกนิคเองก็ยังตรวจพบสารเคมีปนเปื้อนเกินกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐาน ตรงนี้เองที่เป็นมูลเหตุจูงใจที่ทำให้ใครๆก็อยากปลูกผักไว้รับประทานเอง แต่ติดตรงที่จะปลูกอย่างไรให้รอดและงาม บทความนี้จึงอาสาช่วยให้ความรู้สำหรับการทำปุ๋ยอินทรีย์แบบง่ายๆเพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปลูกผักไว้รับประทานเองได้ไม่ยาก

ปุ๋ยอินทรีย์ คืออะไร

          ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุทางธรรมชาติ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช อาทิ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรแตสเซียม ซึ่งอินทรีย์วัตถุที่นิยมนำมาหมักมักเป็นสิ่งที่มีอยู่ในท้องถินอยู่แล้ว ได้แก่ ใบไม้ มูลสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ เป็นต้น

ปลูกผักสวนครัว ผักออแกนิคทานเองดีอย่างไร

การปลูกผักไว้รับประทานเองแท้จริงแล้วนอกจากเราจะได้อาหารที่ปลอดภัยไว้รับประทานแล้วนั้น ขั้นตอนหรือกระบวนการก่อนที่ผลิดอก ออกผล จนกลายมาเป็นอาหารจะเข้าสู่ปากเรานั้น มันมีประโยชน์และคุณค่ามากมาย

  • ในขณะที่มือเราสัมผัสกับดิน วัสดุธรรมชาติ จะได้ปลอดปล่อยหรือถ่ายเทคประจุไฟฟ้าลบหรือพลังงานส่วนเกินออกจากร่างกายของเรา ช่วยให้เราลดความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เหมือนได้รีชาร์ตพลังงานใหม่
  • ในดินนั้นมีจุลินทรีย์ดีที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย เช่นโรคภูมิแพ้ต่างๆ
  • ฝึกให้จิตใจเราได้ผ่อนคลายจากความคิดกังวลลง โดยกับมามีสมาธิจดจ่ออยู่กับการปลูกและดูแลพืชผัก สีเขียวของพืชผักช่วยให้เราสบายตา สบายใจได้เยอะ
  • การเพาะปลูกช่วยฝึกให้เรามีวินัยสม่ำเสมอตั้งแต่เพาะกล้า รดน้ำ ให้ปุ๋ย จนเก็บเกี่ยวผลผลิต
  • บ่มเพาะให้เรารู้จักอดทนรอคอย เราไม่เร่งรัด ลัดขั้นตอนทางธรรมชาติของเราได้
  • เป็นงานดิเรกที่ดี ช่วยให้ครอบครัวได้ทำกิจกรรมและเรียนรู้ไปด้วยกัน
  • มีภูมิคุ้มกันต่อโลกทุนนิยม แม้วันข้างหน้าอาหารปลอดภัยจะหาได้ยากและมีราคาสูงขึ้น แต่เราจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเราสร้างอาหารปลอดภัยได้เอง

วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์

วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้ปลูกผักสวนครัวและผักออแกนิคอื่นๆนั้น สามารถทำได้ง่าย โดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ดินถุงที่วางขายทั่วไปมาปลูกพืชผัก เพราะผักที่เราปลูกจะเจริญเติบโตช้า หรือไม่เจริญเติบโตเลย ทำให้เสียเวลาและหมดกำลังใจในการเพาะปลูกไป แล้วก็จะมาพร่ำบ่นและโทษว่าตนเองเป็นคนมือร้อนปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น แท้จริงแล้วอยู่ที่การปรุงดิน ไม่ได้อยู่ที่มือร้อนหรือเย็น

สำหรับการปรุงดินนั้น ผู้เขียนเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นสูตรปรุงดินของลุงสุเทพ กุลศรี และของจอนนอนไร่ ผู้อ่านก็สามารถไปลองอ่านทบทวนดูได้ หรือติดตามอ่านบทความอื่นจากทางเว็ปของเรา ซึ่งจะแป่งปันความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์อยู่เรื่อยๆ

บทความนี้ผู้เขียนถือโอกาสแนะนำตั้งแต่การปรุงดินเพื่อการปลูกผักสลัดไปจนถึงการเก็บเกี่ยวเลย เพราะถือว่าผักสลัดเป็นพืชที่นิยมปลูกไว้ทานเอง ปัญหาโรคและแมลงน้อย ซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์กับการปลูกอื่นๆได้อย่างแน่นอน

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมวัสดุเพาะ ได้แก่ มูลสัตว์ ขุยมะพร้าว ดิน อย่างละ 1 ส่วน คลุกเข้าให้เข้ากัน ค่อยๆรดด้วยน้ำเปล่าให้ซึมช้าๆ แค่พอมีความชื้น อย่าให้แฉะ ถ้าจะให้ดีแนะนำให้เติมรำอ่อน 25% ของวัสดุเพาะทั้งหมด เพราะจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชผสมวัสดุเพาะให้เข้ากัน ตักใส่ถุงบ่มไว้ประมาณสองสัปดาห์ โดยไม่ให้โดนแดด

ปุ๋ยอินทรีย์

ขั้นตอนที่ 2 เพาะกล้าผักสลัด ให้นำเมล็ดผักสลัดแช่น้ำอุ่นอย่างน้อย 6 ชั่วโมงเพื่อกระตุ้นการงอก จากนั้นนำไปเพาะบนวัสดุเพาะและโรยกลบด้วยดินเพาะ 1 เซ็นติเมตร พอกล้าเริ่มงอกให้นำไปวางไว้ในที่มีแสง และรดน้ำทุกวันอย่าให้แห้งหรือเฉะ

ข้อสังเกต หากกล้ามีต้นยืดสูง แสดงว่าแสงน้อยเกินไป ใช้ไม่ได้ให้เพาะใหม่ เพราะต้นกล้าไม่แข็งแรง ปลูกไปก็เสียเวลาเปล่า

ขั้นตอนที่ 3 การดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อต้นกล้าผักเริ่มเติบโต เขาต้องการแสงแดดจัด แต่ไม่ชอบร้อน เราจะต้องจัดให้เขาได้รับแสงเต็มที่ ผักสลัดจะโตเร็วขึ้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 21 ดังนั้นควรให้ธาตุอาหารพืชทางใบสัปดาห์ละครั้ง จนถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน ถ้าเราปล่อยให้ผักสลัดมีอายุนานกว่านั้น ผักจะมีรสชาติขม ไม่อร่อย

วิธีปรุงดินถุงที่ขายทั่วไปให้ปลูกผักแล้วงาม

ท่านที่เคยใช้ดินถุงที่วางขายทั่วไปมาปลูกผักจะทราบดีว่า ปลูกแล้วโตช้า ไม่งาม ทางเรามีวิธีแนะนำเพิ่มเติม โดยให้นำเอ็นไซม์ธาตุอาหารพืชอีเรฟ มาผสมน้ำเปล่าในอัตราส่วน 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลงบนดินถุงให้พอชื้น แล้วนำมาบ่มทิ้งไว้ 7-14 วัน จากนั้นนำไปเพาะปลูกพืชผัก ก็จะทำให้พืชผักโตได้ดีเหมือนกับดินที่เราปรุงเอง แบบที่แนะนำไว้ในข้างต้น

สรุป

สรุปการทำปุ๋ยหรือปรุงดินเพื่อปลูกผักรับประทานเองนั้นไม่ยาก ดังนิยามที่เรากล่าวไว้เสมอว่า

“ถ้าปรุงดินให้ดี เคมีก็ไม่จำเป็น”

Rating: 5 out of 5.