เพลี้ย 7 ชนิด เกิดจากอะไร กำจัดอย่างไร?

เพลี้ย
Contents hide

บทความนี้เป็นการเขียนรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเพลี้ยในทุกๆมิติ ตั้งแต่เพลื้ยคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และการจัดเพลี้ยแบบธรรมชาติ และการกำจัดเพลี้ยแบบสารเคมี เช่นโอเมโทเอต,  ฟีโนบูคาร์บ, แอคทารา 25 WG, แอ็กมิดา 70 WG, อิมิดาคลอพริด (สารกำจัดแมลง) เป็นต้น


เพลี้ยคืออะไร?

เพลี้ยเป็นแมลงขนาดเล็ก คอยดูดน้ำหวานของพืช ซึ่งพบได้ในพืชหลากหลายชนิด เพลี้ยมักมีลักษณะ สีเขียว สีน้ำตาล สีดำ หรือสีขาว ขึ้นอยู่กับชนิด และระยะการเจริญเติบโตของเพลี้ย ซึ่งเพลี้ยสามารถส่งผลร้ายแรงต่อพืช เนื่องจากเพลี้ยจะใช้ปากอันแหลมคมที่มีขนาดเล็ก ดูดและทำลายท่อน้ำเลียงของพืช ทำให้พืชอ่อนแอลง เพราะขาดธาตุอาหารไปเลี้ยง หากปล่อยไว้กิ่งจะแห้งตาย และไม่สามารถแตกใบใหม่ได้อีก


เพลี้ยภาษาอังกฤษ คืออะไร?

(n.) Aphis : เป็นแมลงขนาดเล็ก มีหลายชนิด หลายวงศ์ มีปากไว้คอยเจาะดูด ซึ่งทำลายท่อน้ำเลี้ยงของพืชและต้นไม้ต่างๆให้เสียหาย ถ้าเปิดตามดิกชันนารี จะมีชื่อเรียกเพลี้ยภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • เพลี้ยแป้ง Mealybug
  • เพลี้ยไฟ Thrips
  • เพลี้ยหอย Scale insect
  • เพลี้ยจักจั่น Leafhopper
  • เพลี้ยกระโดด Spittle bug, Froghopper
  • เพลี้ยอ่อน Aphid, Plant louse
  • เพลี้ยไก่แจ้  เพลี้ยไก่ฟ้า Jumping plant louse

เพลี้ยเกิดจากอะไร?

เพลี้ยเกิดจากอะไร อาจจะไม่มีสาเหตุที่ตอบได้แน่ชัด เพราะเพลี้ยคือสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีการหาอาหารเพื่อดำรงให้มีชีวิตอยู่ต่อไป แต่โดยธรรมชาติของพืชแล้วนั้น หากมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคได้เป็นอย่างดี ศัตรูพืช เพลี้ย หรือเชื้อราต่างๆ ก็ไม่สามารถโจมตีได้

เพราะพวกแมลงศัตรูพืชต่างๆนั้น จะโจมตีพืชที่อ่อนแอเท่านั้น หากลองสังเกตให้ดี ต้นไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในป่า ไม่ได้มีใครคอยไปให้ปุ๋ย หรือฉีดย่าฆ่าแมลง เขาก็เติบโตได้ตามปกติ นั่นเป็นเพราะว่าธรรมชาติของต้นไม้เขาเติบโดโดยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีแต่อย่างใด

แต่พอระบบธุรกิจสารเคมีได้เจริญรุ่งเรือง ก็เริ่มใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงต่างๆ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ได้ทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชนืในดินจนหมดสิ้น เหลือแต่จุลินทรีย์ เชื้อรา ที่เป็นอันตรายต่อต้นไม้

ต้นไม้ถึงถูกทำลายให้อ่อนแอตั้งแต่ระบบราก พอรากมีปัญหาไม่สามารถหาอาหารไปเลี้ยงลำต้น ใบ ดอก ผล ได้ พออ่อนแอหนักเข้าศัตรูพืชเลยโจมตีได้ง่าย และยิ่งไปกำจัดแมลง ศัตรูพืชด้วยสารเคมีอีก ก็เท่ากับไปซ้ำเติมให้พืชอ่อนแอลงไป จุลินทรีย์ดีๆในดินก็ถูกทำลายมากยิ่งๆขึ้นไป จึงเป็นวัฎจักรที่ไม่จบไม่สิ้น แล้วจะมาโทษว่าเพลี้ยกำจัดอย่างไรก็ไม่หมด เพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั่นเอง


เพลี้ยชนิดต่างๆ เพลี้ยมีกี่ชนิดอะไรบ้าง?

เพลี้ยชนิดต่างๆ เท่าที่ปรากฎในข้อมูลทั้งไทย และในต่างประเทศนั้น มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่

 1. เพลี้ยแป้ง (Mealybug)

เพลี้ยแป้งเป็นแมลงขนาดเล็ก มีขนนุ่มปกคลุมทั่วทั้งตัว ยกเว้นหัวและขา มีรูปร่างกลม มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อนมีรูปร่างคล้ายกันมาก ทั้งคู่มีร่างกายที่อ่อนนุ่มและมีปากไว้คอยดูด เพลี้ยแป้งทำหน้าที่ผลิตน้ำหวานจำนวนมาก ซึ่งเป็นสารเหนียวที่เพลี้ยใช้ในการสร้างรัง อาหารหวานเหล่านี้จึงกลายเป็นศัตรูพืชในไม้ผลหลายประเภท เช่น ผัก ผลไม้ ไม้ดอก หรือแม้แต่ต้นไม้ต่างๆ

เพลี้ยแป้ง-1

เพลี้ยแป้งนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เพลี้ยแป้งชนิดหางสั้น และเพลี้ยแป้งชนิดหางยาว ตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนาดรูปร่างที่เล็ก สีขาว เคลื่อนที่ค่อนข้างช้า

เพลี้ยแป้งนี้ มักจะระบาดหนักช่วงที่มีสภาพอากาศร้อน ชื้น โดยสังเกตจากคราบราดำ ที่เพลี้ยแป้งปล่อยน้ำหวานออกมา แล้วกลายเป็นราลุกลามไปทั่วพื้นที่ 

 2. เพลี้ยไฟ (Thrips)

เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่มีรูปร่างเล็ก ขนาดลำตัวจะยาวประมาณ 1 มล. ขณะที่เป็นตัวอ่อนนั้น จะสีออกเหลือง พอตัวโตเต็มวัยมีจะเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง

เพลี้ยไฟจะเป็นแมลงที่ค่อนข้างเคลื่อนที่ไปมาได้รวดเร็ว ตัวเมียจะวางไข่ด้วยการม้วนใบอ่อน เพื่อฟักไข่ ซึ่งหนึ่งใบนั้น มีไข่เพลี้ยไฟหลายร้อยตัว โดยใช้เวลาฟักไข่ราวๆ 4 ถึง 7 วัน หลังจากนั้นตัวอ่อนระยที่ 1 จะมีลักษณะขาวใส ตัวอ่อนระยะที่ 2 จะมีสีเหลืองโทนเข้ม

เพลี้ยไฟ จะระบาดในช่วงฤดูร้อน หรือช่วงที่มีสภาพอากาศร้อน  (เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม) แต่ในประเทศไทยนั้น เนื่องจากมีสภาพอากาศที่ร้อน การระบาดและขยายพันธุ์ของเพลี้ยไฟ ถึงมีได้ตลอดทั้งปี

เพลี้ยไฟ

เนื่องจากเพลี้ยไฟ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และทำลายท่อน้ำเลี้ยงของพื้น ส่งผลให้ต้นไม้ที่โดนเพลี้ยไฟระบาด กิ่งจะแห้งตาย ใบจะเหลืองร่วง โกร๋น เหลือแต่กิ่ง 

ดังนั้น เมื่อถูกเพลี้ยไฟระบาด จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขตั้งแต่เริ่มต้น เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ กิ่งที่แห้งตายจะไม่สามารถแตกใบให้ขึ้นได้อีก

3. เพลี้ยหอย (Scale insect)

เพลี้ยหอยเป็นแมลงขนาดเล็กในอันดับ Homoptera วงศ์ย่อย Sternorrrhyncha อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยากเพราะมีขนาดเล็กและมีแว็กซ์เคลือบไว้ป้องกัน เป็นศัตรูพืชตัวร้ายกาจของต้นไม้ พืชทั่วไป เพลี้ยหอยจะดูดน้ำหวานจากจากใบของพืช ลำต้น หรือกิ่งก้านของต้นพืช ทำให้ขาดธาตุอาหาร ส่งผลให้ไม่เจริญเติบโต ใบไม้มีสีเหลือง หรือลำต้นแคระแกรน และอาจทำให้พืชต้องตายได้ หากปล่อยให้มีการระบาดหนัก

เพลี้ยหอย

4. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Leafhopper)

เพลี้ยจักจั่นเขียวเป็นแมลงขนาดเล็ก จำพวกใช้ปากดูด แบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่  1. Nephotettix virescens และ 2. Nephotettix nigropictus

ลักษณะทางกายภาพตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่นทั้งสองชนิดนี้ จะมีลักษณะออกเป็นสีเขียวอ่อน มีรอยแต้มสีดำอยู่บนหัว หรือที่ปีกของเพลี้ย ส่วนขนาดความยาวของลำตัวนั้นไม่ได้แตกต่างกันมากนัก มีจุดที่แตกต่างกันที่ Nephotettix nigropictus มีเส้นขีดสีดำระหว่างตาทั้งสองข้าง โดยพาดยาวตามขอบของหน้าผากชัดเจน ส่วนชนิดของ Nephotettix virescens นั้นจะไม่มีเส้นขีดสำดำระหว่างตาทั้งสองข้าง  

เพลี้ยจักจั่น

เพลี้ยจักจั่นสีเขียว จะเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วหากถูกรบกวน หรือทำให้ตกใจ ซึ่งพวกเขาสามารถบินได้ไกลหลายกิโลเมตร โดยเฉพาะพื้นที่ตรงไหนที่มีแสงไฟในตอนกลางคืน เพลี้ยกลุ่มนี้ก็มักจะมาเล่นไฟ

ระยะการวางไข่ของตัวเมีย จะเป็นการวางไข่ในลักษณะแบบกลุ่ม 8 ถึง 16 ฟองใช้รระยะเวลาฟักไข่ประมาณ 5 ถึง 8 วัน จากตัวอ่อนก็เริ่มจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อนๆ ซึ่งจะเป็นตัวอ่อนอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ จากนั้นจะเข้าสู่ตัวเต็มวัยเมื่ออายุประมาณ 1.5 สัปดาห์

การทำลายของเพลี้ยจักจั่นสีเขียว จะใช้เป็นการระบาดหนักช่วงที่พืชเปลี่ยนจากระยะต้นกล้าสู่ระยะเจริญเติบโต โดยเพลี้ยที่เป็นตัวอ่อน  ตัวเต็มวัย เหล่านี้ จะมาดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ลำต้น จึงทำให้พืชถูกทำลายท่อน้ำเลี้ยง ไม่สามารถส่งอาหารด้วยวิธีการลำเลียงไปยังใบเพื่อสังเคราะห์แสงได้ ส่งผลให้พืชต่างๆหยุดการเจริญเติบโต เริ่มมีอาการใบเหลือง ร่วง ถ้าระบาดหนักก็จะทำให้พืช หรือต้นไม้ตายได้

และเพลี้ยจักจั่นสีเขียวเหล่านี้ คือตัวพาหะที่ทำให้เกิดโรคราส้ม ส่งผลให้พืช หรือต้นไม้ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว

5. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown Planthopper)

 เป็นแมลงตัวเล็กประเภทปากดูด ตัวเต็มวัยมีลักษณะลำตัวออกสีน้ำตาลเข้ม มี 2 ชนิด คือ ชนิดปีกสั้น และปีกยาว สามารถอพยพเคลื่อนย้ายไประยะทางไกลได้ โดยอาศัยแรงลมช่วยพัดในการเคลื่อนที่

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่ม โดยบริเวณที่วางไข่นั้น จะมีรอยสีน้ำตาลช้ำ ลักณะไข่เรียวยาวโค้งรูปกระสวย การวางไข่นั้นจะวางได้ประมาณ 100 ฟอง โดยมีระยะตัวอ่อนประมาณ 2 สัปดาห์ ขนาดตัวเต็มวัยจะมีขนาด 4 มล. มีอายุเมื่อเป็นตัวเต็มวันประมาณ 2 สัปดาห์

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะทำลายพืชด้วยการดูดน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำเลี้ยง ทำให้พืชที่เพลี้ยระบาด เช่น ต้นข้าว หรือต้นข้าวโพด ขาดธาตุอาหาร จะมีลักษณะใบเหลืองแห้ง รอยแผล 

นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำโรคใบหงิกด้วย ทำให้พืชมีลำต้นแคระ ไม่เจริญเติบโต

6. เพลี้ยอ่อน (Plant louse)

เพลี้ยอ่อน (Plant louse) เป็นแมลงตัวเล็กชนิดปากดูดทำลาย โดยจะใช้ปากที่แหลมในการดูดน้ำหวาน หรือน้ำเลี้ยงที่ ใบ ลำต้น หรือยอดของพืช ทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโต เพราะขาดธาตุอาหาร เนื่องจากระบบท่อลำเลียงนั้นเสียหาย ธาตุอาหารที่ได้จากรากจึงไม่สามารถส่งใปหล่อเลี้ยงยัง กิ่ง ก้าน ใบ ได้

เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อนจะเป็นพาหะนำโรคหรือเชื้อไวรัส จากต้นไปสู่อีกต้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเพลี้ยอ่อนนี้นจะมีการระบาดทั้งปี ซึ่งระบาดได้กับต้นไม้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น พืช ผัก ไม้ผล ไม้ดอก หรือพืชไร่

7. เพลี้ยไก่แจ้ หรือเพลี้ยไก่ฟ้า (Jumping plant louse)

เพลี้ยไก่แจ้หรือเพลี้ยไก่ฟ้า มีลักษณะเป็นตัวสีขาว อาศัยอยู่บนใบอ่อนของพืช มักระบาดในช่วงหน้าฝน เพลี้ยชนิดนี้จะมีวงจรชีวิตในระยะที่สั้นราวๆ 3 สัปดาห์เท่านั้น 

เพลี้ยไก่แจ้

ซึ่งในพื้นที่ๆไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า หรือยากำจัดเพลี้ยเชื้อรา ที่เป็นสารเคมี มักจะไม่ค่อยพบเห็นเพลี้ยไก่แจ้หรือเพลี้ยไก่ฟ้า เพราะในพืชที่จะมีตัวทำลายเพลี้ยชนิดนี้แบบธรรมชาติ เช่น เมลงเต่าทอง ตัวห้ำ ตัวเบียน แมลงช้างปีกใส เป็นต้น


แมลงตัวเล็ก สีดํา ใช่เพลี้ยหรือเปล่า?

การที่จะทราบแน่ชัดว่าแมลงตัวเล็กสีดำนั้น ใช่เพลี้ยหรือไม่ ให้สังเกตง่ายๆเบื้อต้น ดังนี้ ดูที่ต้นไม้หรือพืชของเราว่าลักษณะใบมีถูกทำลายที่เส้นใย (ท่อน้ำเลี้ยง) บ้างไหม โดยลักษณะของใบจะเป็นรู หรือขรุขระ ไม่เรียบเหมือนปกติ เนื่องจากถ้าเป็นเพลี้ยเขาจะดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ขาดธาตุอาหาร ใบเขาจึงเหลือง เป็นรู ร่วง

ถ้ามีลักษณะตามที่ว่า ส่วนใหญ่แมลงตัวเล็กสีดำ ที่มีอยู่ในพื้นที่ก็จะเป็นเพลี้ยไฟ ซึ่งเพลี้ยไฟจะระบาดเร็วมาก จุดสังเกตอีกหนึ่งจุดคือ ยอดอ่อนของต้นไม้จะมีลักษณะม้วนหยิกงอ เพราะเพลี้ยเขาฟักไข่ ขยายพันธุ์ เพื่อแตกลูกหลาน


วิธีไล่เพลี้ยและสูตรไล่เพลี้ย ไล่แมลงแบบธรรมชาติ

วิธีไล่เพลี้ยและแมลงแบบธรรมชาตินั้น เท่าที่นิยมกันมากๆก็จะมี 5 แบบ ซึ่งมักไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก ได้แก่

1. ใช้น้ำสัมควันไม้ฉีดพ่น

2. ใช้ยาสูบผสมน้ำฉีดพ่น

3. ใช้น้ำมันสะเดาฉีดพ่น

4. ใช้สมุนไพรหลากหลายชนิดหมัก โดยเฉพาะเครื่องเทศที่มีรสเผ็ด เช่น พริก ข่า หอม เป็นต้น

5. ฉีดพ่นด้วยน้ำยาล้างจาน

ซึ่งการกำจัดเพลี้ยด้วยวิธีใช้สมุนไพรสร้างกลิ่นหลอกแมลง หรือศัตรูพืช นั้นไม่ค่อยได้ผล เพราะเพลี้ยหรือแมลงศัตรูพืชมีการปรับตัวได้รวดเร็ว เช่นกัน ทั้งนี้ ถ้าหากต้องการกำจัดเพลี้ย และแมลงศัตรูพืชแบบธรรมชาติ ปลอดภัย ได้ผลดี ต้องอ่าน วิธีกําจัดเพลี้ยกุหลาบ แบบธรรมชาติ 100%


ยาฆ่าเพลี้ย ยากําจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง แบบสารเคมี

สารเคมีกำจัดเพลี้ย และแมลงศัตรูพืช ที่จำหน่ายทั่วไปในบ้านเรามีอยู่มากมาย หลายชนิด และหลายยี่ห้อ ซึ่งประสิทธิผลในการทำลาย และอันตรายที่ได้รับก็แตกต่างกันไป ที่นิยมก็เห็นจะมี 5 ชนิดนี้ ได้แก่

  • โอเมโทเอต     
  • ฟีโนบูคาร์บ
  • แอคทารา 25 WG 
  • แอ็กมิดา 70 WG 
  • อิมิดาคลอพริด (สารกำจัดแมลง)
โอเมโทเอด-1

วิธีกำจัดเพลี้ยแป้งแบบธรรมชาติ

การกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยวิธีธรรมชาติ ปลอดภัย มี 3 วิธี คือ

1. ใช้วิธีหยิบออกหรือตัดกิ่ง

ให้ค่อยๆหยิบ หรือตัดกิ่ง ใบ ที่มีเพลี้ยอาศัยอยู่ (ระวังอย่าให้ฟุ้งกระจาย) แล้วนำมาใส่ถุง ปิดปาก นำไปทิ้งนอกพื้นที่ๆมีการระบาด หากมีการร่วงลงพื้น มดจะคาบตัวเพลี้ยไปยังต้นอื่นต่อๆไป เนื่องจากที่ตัวเพลี้ยจะมีน้ำหวาน จากการดูดน้ำเลี้ยงของพืช

แต่หากในพื้นที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้งเป็นจำนวนมาก วิธีการแบบแรก อาจเอาไม่อยู่ หรือไม่ทันการณ์ ให้ใช้วิธีต่อไปนี้

2. ใช้แมลงศัตรูเพลี้ยจัดการ

การใช้ตัวห้ำ แมลงเต่าทอง ตัวเบียน แมลงช้างปีกใส ปล่อยในพื้นที่ พวกเขาเหล่านี้จะคอยกินไข่ และเพลี้ยอ่อน ซึ่งพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ปราศจากเคมี พวกแมลงเหล่านี้จะอาศัยอยู่ จึงไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องเพลี้ยและแมลงศัตรูพืชมากนัก

3. ใช้จุลินทรีย์จัดการ

ใช้อีเรฟ (erev) จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยและเชื้อรา (ขวดสีแดง) ผสมน้ำในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นให้ชุ่ม ทั่วทั้งลำต้น ดังนี้

วันแรก ให้ฉีดพ่น และราดโคนต้น

วันที่สอง ให้ฉีดพ่น

ทุกๆ 3 วัน ให้ฉีดพ่น

ทำแบบนี้ต่อเนื่อง เมื่อได้สัก 4 ครั้ง ก็จะเห็นว่าในพื้นที่ไม่มีเพลี้ยแป้งแล้ว ก็ค่อยปรับระยะห่างออกไปเป็นทุกๆ 7 วัน และ เดือนละครั้ง ตามลำดับ

แต่ถ้าจะให้ดี และให้ต้นไม้ฟื้นตัวได้รวดเร็ว ควรใช้ผสมควบคู่กับ อีเรฟ จุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช (ขวดสีเขียว) โดยผสมกับน้ำในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน

อีเรฟ

การกำจัดเพลี้ย เชื้อรา ศัตรูพืชด้วยจุลินทรีย์ปลอดภัย

การกำจัดเพลี้ย และเชื้อรา ไรแดง ไข่แมลงหวี่ขาว ด้วยจุลินทรีย์ของอีเรฟ (erev) นั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ควบคู่กับการฟื้นฟูต้นไม้ให้กลับมาเขียวแน่น ไปพร้อมๆกัน

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ที่ผู้ใช้เกือบทั้งหมดต่างก็ฟีดแบ็คว่า อีเรฟ ได้ผลดีมากจนประหลาดใจ บางรายอาจจะมีตัดพ้อด้วยว่ามาเจออีเรฟช้าไป ก่อนหน้านี้หมดเงินไปตั้งมากมาย จากการลองผิดใช้เคมียี่ห้อต่างๆแล้วก็ไม่ได้ผล จนมาค้นข้อมูลถึงพบว่าสินค้า อีเรฟ ถึงมีคนพูดถึงมากที่สุดในเว็พันทิปดอทคอม pantip.com


เพลี้ยแป้งอันตรายต่อคนไหม?

เพลี้ยทุกชนิดตามธรรมชาติ เขามีหน้าที่หาอาหารหล่อเลี้ยง ประทังชีวิตเหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆทั่วไป ซึ่งน้ำหวาน หรือน้ำเลี้ยง ของพืชมีรสหวาน คืออาหารของเพลี้ย ดังนั้น จึงไม่มีอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง ซึ่งแตกต่างจากแมลงอย่างยุง ทาก ที่ดูดเลือดของคนหรือสัตว์เป็นอาหาร

หวังว่าบทความที่ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ “เพลี้ย” ในทุกๆมิติ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ซึ่งถ้าเข้าใจต้นเหตุของเพลี้ยระบาด ที่เกิดจากต้นไม้อ่อนแอแล้ว รู้จักแก้ปัญหาด้วยการทำให้ต้นไม้แข็งแรง ปัญหาเรื่องเพลี้ย ก็จะไม่ใช่ประเด็นที่ต้องหนักใจอีกต่อไป


เพิ่มเพื่อนทางไลน์ @erevthai

สั่งซื้อสินค้าผ่าน Line My Shop คลิกที่นี่

Rating: 5 out of 5.