Probiotics กับ Postbiotics 2 ตัวนี้ เลือกอะไรดีมีประโยชน์มากกว่ากัน

Prebiotics

ที่ผ่านมาเราจะคุ้นเคยกับ พรีไบโอติก (Prebiotics) และ โปรไบโอติก (Probiotics) มากกว่า โพสต์ไบโอติก (Postbiotics) เพราะทั้ง 2 ตัวนี้ดีต่อระบบย่อยอาหารของลำไส้

คนมักจะคุ้นเคยคำว่า Prebiotics กับ Probiotics

หากคุณเป็นคนที่สนใจเรื่องสุขภาพ และติดตามข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพมาบ้าง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราจะได้ยินและคุ้นเคยเกี่ยวกับคำว่า พรีไบโอติก (Prebiotics) และ โปรไบโอติก (Probiotics) เป็นอย่างมาก

เพราะทั้งพรีไบโอติก และโปรไบโอติก นั้นเกี่ยวข้องกับการช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารให้แข็งแรงและสม่ำเสมอ รวมถึงประโยชน์ด้านอื่นๆที่มีต่อสุขภาพอีกหลายประการเลยทีเดียว

probioticsกับprebiotics

Postbiotics อาจจะไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

ถ้าพูดถึงเกี่ยวกับโพสต์ไบโอติก (Postbiotics) อาจจะไม่เป็นที่รู้จัก คุ้นเคยมากนัก ถ้าเทียบกับน้อยกว่าทั้งพรีไบโอติก (Prebiotics) และโปรไบโอติก Probiotics)

แต่ข้อมูลการวิจัยล่าสุดนี้ ชี้ให้เห็นว่า โพสต์ไบโอติก (Postbiotics) มีบทบาทสำคัญเท่าเทียมกันในการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพของคนเราไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพมากมายที่เกิดจากพรีไบโอติก นั้นก็เกิดขึ้นได้จากโพสต์ไบโอติก เช่นเดียวกัน

Postbiotics คืออะไร ?

โพสต์ไบโอติก (Postbiotics) เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการหมักแบคทีเรียชนิดดี ที่เกิดจากโปรไบโอติกในลำไส้ หรือจะพูดเพื่อให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เมื่อโปรไบโอติกกินพรีไบโอติกส์เข้าไป ก็จะเกิดกระบวนการผลิตโพสต์ไบโอติก ที่เป็น “ของเสีย” ของโปรไบโอติก แต่ของเสียนี้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมหาศาล เนื่องจากได้จากการหมักแล้ว ทำให้ร่างกายดูดเอาโพสต์ไบโอติกไปใช้งานได้ทันที

Postbiotics ช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างไร

ถ้าพูดว่า Postbiotics คือของเสีย จากการหมักของแบคทีเรียนั้น อาจจะดูเหมือนไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายคนเรามากนัก แต่ที่จริงแล้ว Postbiotics นั้นมีหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญหลายอย่างในลำไส้ของคนเรา ตัวอย่างของ postbiotics ที่เราพอจะรู้จัก ได้แก่

  • กรดอินทรีย์
  • แบคทีเรีย
  • สารคาร์บอนิก
  • และเอ็นไซม์
แบคทีเรีย

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการดำรงอยู่และการอยู่รอดของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนเราโดยธรรมชาติ แม้ว่าจะสามารถเพิ่มได้โดยตรงผ่านกระบวนการบำบัดก็ตาม

ความสัมพันธ์ระหว่างพรีไบโอติก โปรไบโอติก และโพสต์ไบโอติก

แม้ว่าชื่ออาจจะคล้ายกันมาก อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน แต่ยังคงมีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งนี่คือข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับไบโอติก ทั้ง 3 ตัว

พรีไบโอติก คืออะไร?

เป็นสารอาหารที่เปลี่ยนองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ โดย “อาหาร” นี้ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียกลุ่มที่ดีต่อร่างกายของคนเรา พรีไบโอติกส่วนใหญ่จะเป็นพวกใยอาหาร (Fiber) เช่นเดียวกับที่มักจะพบใน ผัก ผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี เป็นต้น

โปรไบโอติก คืออะไร?

คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ของคนเรานั่นเอง สิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมระบบสุขภาพของเรา และระบบนิเวศของจุลินทรีย์ ทำหน้าที่ต่างๆ ได้แก่

  • ช่วยต้านการติดเชื้อ
  • ต้านแบคทีเรียกลุ่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา
  • ช่วยปรับภูมิคุ้มกัน
  • และช่วยต้านการอักเสบ

เราจะพบโปรไบโอติกเหล่านี้ในอาหาร เช่น โยเกิร์ต คีเฟอร์ คอมบูชา และกิมจิ เป็นต้น

kombucha

โพสต์ไบโอติก คืออะไร?

โพสต์ไบโอติก คือ เมตาบอไลต์ (Metabolites) ของโปรไบโอติก หรือส่วนประกอบที่เกิดจากการทำงานของโปรไบโอติกในลำไส้ เช่น การหมัก เนื่องจากจุลินทรีย์ในลำไส้กินเส้นใยพรีไบโอติก ผลของการหมัก หรือผลจากการย่อยอาหารนั้น เรียกว่า โพสต์ไบโอติก (Postbiotics)

ผลการวิจัยล่าสุด มีหลักฐานชัดเจนว่า คุณประโยชน์เชิงบวกต่างๆที่เราได้รับจากโปรไบโอติกนั้น แต่แท้จริงแล้วล้วนเกิดจาก postbiotics นั่นเเอง

หากสรุปเป็นภาษาพูด เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ

  • พรีไบโอติก เป็นเหมือน “อาหาร” สำหรับจุลินทรีย์
  • โพรไบโอติก ก็คือตัวจุลินทรีย์นั่นเอง
  • ส่วน Postbiotics คือผลพลอยได้จากการย่อย หรือของเสียที่ถูกขับออกมา ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างมากมาย

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ทางชีวภาพ ระหว่างจุลินทรีย์ในลำไส้ กับมนุษย์ ในระดับที่ลึกซึ้งได้ดียิ่งขึ้น

อาหารที่ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของ Postbiotics

เนื่องจากโพสต์ไบโอติกเป็นผลพลอยได้จากการหมักโปรไบโอติก ซึ่งเป็นแหล่งที่มาโดยตรงของโพสต์ไบโอติก

เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของ postbiotics ในลำไส้ของมนุษย์เรา จึงควรรับประทานอาหารต่างๆ เหล่านี้ ที่จะช่วยเพิ่มความเข้มข้นของ Postbiotics ในร่างกายของเรา ซึ่งได้แก่

  • โยเกิร์ต
  • กะหล่ำปลีดอง
  • ซุปมิโสะ
  • ซอฟท์ชีส
  • คีเฟอร์
  • ขนมปัง Sourdough
  • เนยแท้
  • ผักดอง
  • เทมเป้
โยเกิร์ต

นอกจากการรับประทานอาหาร ตามรายการข้างต้นแล้ว ปัจจุบัน Postbiotics สามารถผลิตและสกัดในห้องปฏิบัติการได้แล้ว เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่างๆ โดยสามารถทำเป็นยาเม็ดแคปซูล เพื่อรับประทานได้สะดวกโดยตรง ในรูปของเยา และอาหารเสริม

ซึ่งในประเทศไทย ก็มีผลทดลองจากภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Postbiotics นี้ก็ได้รับรองจาก อย. ถูกต้อง โดสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://organicslife.co

BPLโพสต์ไบโอติกส์
BPL Postbiotics

Postbiotics ดีต่อสุขภาพอย่างไร

1. ช่วยลดน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคอ้วน

การขาดความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ มีส่วนทำให้เกิดโรคอ้วน และการดื้อต่ออินซูลิน มีการแสดงส่วนประกอบของแบคทีเรีย postbiotic ที่เรียกว่า muramyl dipeptide เพื่อบรรเทาอาการแพ้น้ำตาลกลูโคสโดยการเพิ่มความไวของอินซูลิน ในขณะที่ยังคงต้องมีการทดลองเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจกลไกนี้อย่างเต็มที่ แต่ดูเหมือนว่า postbiotic นี้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับโรคเบาหวาน ก่อนเกิดโรคเบาหวาน และโรคเบาหวานประเภท 2

2. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง

เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าอาหาร และอาหารเสริมโปรไบโอติกมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการท้องร่วง จากการสังเกตอย่างใกล้ชิด พบว่าผลไม่ได้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างแบคทีเรียกลุ่ม “ดี” กับเยื่อบุลำไส้ แต่เกิดจากผลิตภัณฑ์เมตาบอลิซึมที่ปล่อยออกมาจากโปรไบโอติก

3. มีคุณสมบัติต้านการติดเชื้อ

หนึ่งในหน้าที่หลักของโปรไบโอติกและโพสต์ไบโอติกคือการทำให้ลำไส้มีระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดี ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้มีปริมาณของแบคทีเรียที่ติดเชื้อได้ การต้านแบคทีเรียโดยตรงของโพสต์ไบโอติก จึงช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดี

4. ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในทารก และผู้ที่มีภาวะภูมิบกพร่อง

สำหรับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (ภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอ) หรือทารก โปรไบโอติกอาจไม่สามารถช่วยในเรื่องนี้ได้ แต่ Postbiotics ที่เป็นสารประกอบหลังไบโอติกนั้นสามารถทนต่อยาได้ดีกว่ามาก และช่วยลดการอักเสบที่เป็นปัญหาได้

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่พบบทบาทของโปรไบโอติก และ postbiotics ในการรักษา Nectrotizing enterocolitis ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในทารกแรกเกิด และเป็นหนึ่งในภาวะฉุกเฉินทางเดินอาหารที่พบบ่อยที่สุด ในการศึกษาเพิ่มเติม พบว่าการใช้โพสต์ไบโอติก ร่วมกับพรีไบโอติก เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ หรืออาจจะเสริมโปรไบโอติก ไปด้วยก็ยิ่งดี

5. ช่วยลดการอักเสบ

ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้อักเสบ (IBD) อาจไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้โปรไบโอติก แต่ Postbiotics นั้น ช่วยป้องกันการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อได้

นอกจากนี้ Postbiotics และโปรไบโอติกยังทำงานร่วมกัน ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ โปรไบโอติกผลิต postbiotics ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคนเรา

บทสรุปเกี่ยวกับ Postbiotics

ต่อจากนี้เราอาจจะได้ยินเกี่ยวกับ postbiotics มากขึ้นเรื่อยๆ และในอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้ โพสต์ไบโอติกน่าจะกลายเป็นองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพในอาหาร และกระบวนการย่อยอาหารของคนเรามากขึ้นๆ

สิ่งที่เราเรียกว่า “อาหารเสริม” อาจจะไม่ได้แปลว่าเป็นแค่อาหารเสริมอีกต่อไป ถ้ามันช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คน ให้มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม การสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ไม่ใช่แค่การรับประทานอาหารเสริมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย การออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  • ควรเลือกอาหารที่มีสารอาหารมากๆและแคลอรี่ต่ำ
  • ดื่มน้ำให้มาก
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • และนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อคืน

หากคุณทำสิ่งเหล่านี้ และเพิ่มการทานอาหารที่ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของ postbiotic จะทำให้สุขภาพโดยรวมของคุณดีขึ้นได้อย่างแน่นอน

sleeping

เรียบเรียงจาก

https://www.chiropractor-schaumburg.com

บทความเกี่ยวกับ Postbiotics

รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อีเรฟ คลิกที่นี่

สั่งซื้อได้ที่เว็ป :

https://organicslife.co/product/bpl/

หรือสั่งซื้อได้ที่เพจ :

https://www.facebook.com/postbiotic108

สั่งซื้อผ่านไลน์ช้อป :

https://shop.line.me/@erevthai

Line ID : @erevthai

Rating: 5 out of 5.