กำจัดเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ อย่างไรให้ถูกต้อง ง่ายๆเบ็ดเสร็จใน 2 ขั้นตอน

เพลี้ยดูดท่อน้ำเเลี้ยง

ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ที่ปลูกต้นไม้ พืช ผัก มักจะเจออยู่บ่อยๆ ก็คือเรื่องศัตรูพืช ซึ่งได้แก่ แมลง หนอน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ และเหล่าบรรดาหอยทาก เป็นต้น และพื้นที่หรือต้นไม้ไหนที่เจอศัตรูพืชระบาด ก็มักจะเจออยู่ซ้ำๆบ่อยๆ เป็นประจำ ต้นเหตุของปัญหา และวิธีการจัดการปัญหาต่างๆเหล่านี้อย่างเป็นระบบให้หมดไปนั้น มีวิธีการอย่างไร เชิญติดตามได้ในบทความนี้ จะทำให้เข้าใจเรื่องศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี

เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ คืออะไร

       เพลี้ยเป็นแมลงตัวเล็กๆ กินน้ำเลี้ยงของพืช สามารถพบได้ในสวนและฟาร์ม โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชโดยการเจาะด้วยปากที่แหลมคม ทำให้ใบม้วนงอ ใบสีเหลือง และยังทำให้ตาไม่เปิด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สำหรับชาวสวนหรือเกษตรกรที่ปลูกพืชผล

       เพลี้ยตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพลี้ยตัวผู้มาก แต่ทั้งคู่มีจำนวนแขนขาเท่ากัน ความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมียคือ ตัวเมียมีหน้าท้องเรียวยาวออกไป ในขณะที่ตัวผู้จะมีหน้าท้องที่กลมกว่า

        สาเหตุที่แท้จริงของเพลี้ยยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มี 2 ทฤษฎีเกี่ยวกับการแพร่กระจาย  ทฤษฎีแรกคือไข่เพลี้ยบินออกจากพืชที่ถูกรบกวนและไปเกาะที่ต้นไม้อื่น ส่วนทฤษีที่สองระบุว่ามดเป็นพาหะนำเชื้อ หรือนำเพลี้ยอ่อนจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง

เพลี้ยแป้ง

ทำไมเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ถึงได้ระบาด

ต้นเหตุที่ทำให้เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ระบาดในพื้นที่ นั้นมักเกิดจากพืช ผัก หรือต้นไม้ ที่เร็วปลูกมีความอ่อนแอ เมื่อพืชอ่อนแอก็จะถูกศัตรูพืชโจมตีเป็นธรรมดา ให้ลองนึกถึงต้นไม้ที่อยู่ในป่า เขาเติบโตแข็งแรง โดยปราศจากการรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย แต่ก็ไม่ถูกศัตรูพืช หรือโรคพืชโจมตีแต่อย่างใด

ตรงกันข้ามต้นไม้ พืช ผัก ที่เราปลูกอย่างประคบประหงม ใส่ปุ๋ย พรวนดิน รดน้ำ แต่กับโดนศัตรูพืช หรือโรคพืชโจมตีอยู่บ่อยครั้ง นั่นเป็นเพราะสาเหตุต่างๆเหล่านี้ 

1. เมล็ดพันธุ์ หรือต้นกล้า ที่เรานำมาปลูกนั้นมียีนด้อย หรือถูกตัดแต่งพัันธุ์กรรมให้อ่อนแอ เป็นเจตนาตั้งต้น เพื่อจะได้ใช้สารเคมีต่างๆ ที่อยู่ในวงจรธุรกิจเคมีแบบหมุนเวียนไป เป็นต้น เมื่อต้นไม้มียีนด้อยติดตัวมา ก็เหมือนกับคนพิการมาแต่กำเนิด ที่ไม่แข็งแรงพอที่จะช่วยตนเองได้ จึงทำให้ถูกโจมตีได้ง่ายกว่า 

2. การใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่างๆ ซึ่งสารเคมีต่างๆเหล่านี้ จะไปทำลายจุลินทรีย์ฝั่งดีในดิน ทำให้ดินเสีย ขาดธาตุอาหาร ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบรากของพืช 

3. การรดน้ำที่ชื้น แฉะ เกินไป ทำให้จุลินทรีย์ฝั่งดีในดินหยุดทำงาน เหลือแต่จุลินทรีย์ฝั่งร้าย จึงกลายเป็นปัญหาเชื้อราในดินทำลายระบบรากของต้นไม้ ดังนั้น การรดน้ำที่ถูกต้อง ห้ามรดน้ำแบบรดครั้งละมากๆชุ่มๆ ครั้งเดียวต่อวัน โดยใช้สายยางฉีดพ่น เพราะจะทำให้ดินแฉะ และดินแน่น ดินแข็ง แต่ควรให้น้ำแบบพ่นฝอยครั้งละน้อยๆ แค่พอชื้น และให้ได้บ่อยครั้ง 

4. ในพื้นที่ที่เพลี้ยระบาด มักจะเป็นพื้นที่ที่มีไม้ดอก หรือพื้นที่ใกล้เคียงมีไม้ดอก ซึ่งเพลี้ยจะมาดูดน้ำเลี้ยงของไม้ดอกก่อนที่จะระบาดไปดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้อื่นๆต่อไป

5. ฤดูกาลที่เป็นหน้าฝน หรือช่วงหน้าหนาวที่มีไม้ดอกเจริญเติบโต จะเป็นช่วงที่เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ระบาดหนักกว่าฤดูอื่นๆ

เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ส่งผลร้ายอย่างไรต่อพืช ผัก ต้นไม้

เหล่าบรรดาเพลี้ยต่างๆ เขาจะมาดูท่อน้ำเลี้ยงของไม้ดอก หรือต้นไม้ประดับต่างๆ เช่น ต้นไทรเกาหลี ก็จะทำให้ต้นไม้ขาดธาตุอาหาร ส่งผลให้มีใบเหลือง ใบไหม้ ใบร่วง และตายไปในที่สุด

หากกล่าวโดยสรุป เพลี้ยนั้นทำลายต้นไม้ พืช ผัก หลักๆมี 2 อย่าง คือ

  1. ดูดน้ำเลี้ยงจากพืช
  2. แย่งธาตุอาหารพืช
เพลี้ยไฟม้วนใบฟักไข่
เพลี้ยไฟม้วนใบฟักไข่

วิธีแก้ปัญหากรณีเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ระบาดอย่างเป็นระบบ 

การจะแก้ปัญหาเรื่องเพลี้ยหรือ โรคศัตรูพืชต่างๆ ได้นั้น ก่อนอื่นต้องไม่สร้างความอ่อนแอให้พืช และสภาพแวดล้อมในพื้นที่เพาะปลูก โดยงดใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยเคมี เคมีกำจัดแมลง ยาฆ่าหญ้า เป็นต้น

จากนั้น ให้ทำการกำจัดเพลี้ยและเชื้อราอย่างเป็นระบบ ดังนี้

  1. กำจัดเชื้อราที่อยู่ในดิน ที่ทำให้ระบบรากของพืชอ่อนแอ ไม่สามารถหาอาหารได้ ต้นตอของปัญหาพืชอ่อนแอ
  2. กำจัดตัวเพลี้ย ไข่เพลี้ย โดยเเฉพาะเพลี้ยไฟถ้าปล่อยให้เขาม้วนใบอ่อนเพื่อฟักไข่ได้ เขาจะระบาด แตกลูกแตกหลานหลายพันตัวในเวลาอันรวดเร็ว และลุกลามไปต้นอื่นในพื้นที่ ดังนั้น ต้องกำจัดไข่ให้ฝ่อ เพื่อตัดตอนการขยายพันธุ์ของเพลี้ย
  3. เพิ่มธาตุอาหารให้พืช เนื่องจากพืชถูกเพลี้ยรุมดูดท่อน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชขาดธาตุอาหาร จึงมีใบเหลือง ร่วง และตาย ดังนั้นการจะฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติได้เร็ว ก็จะต้องเพิ่มธาตุอาหารพืชไปพร้อมๆกัน
  4. ปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลอื่นๆ เช่น
  • การรดน้ำ จากเดิมที่ให้คราวละมากๆในคราวเดียว เปลี่ยนเป็นการให้น้ำแบบหยด หรือฝอย คราวละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งจะดีกว่า เพราะจะไม่ทำให้ดินแข็ง และแฉะ
  • วัสดุเพาะปลูก หรือภาชนะปลูก ต้องมีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี ขนาดมีความเหมาะสม ไม่เล็กจนเกินไป
  • ตัดแต่งกิ่ง ใบ และยอด ให้สั้นเข้ารูป อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง ตรงจุดนี้หลายท่านอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ต้องการให้ต้นไม้มีใบแน่น จึงปล่อยให้ต้นไม้โตโดยไม่ตัดแต่ง หรือตัดแต่งแค่ปีละครั้ง โดยเฉพาะพวกต้นไม้ที่ปลูกเป็นแนวรั้ว ไม้บังตา เช่น ไทรเกาหลี ไทรอินโด เป็นต้น ยิ่งเราตัดแต่งบ่อย เขาจะยิ่งแตกใบให้เยอะกว่าเดิม และถ้าหากต้องการให้ต้นไม้มีใบแน่น ยิ่งควรตัดที่ยอดเพื่อจำกัดไม่ให้เขาสูงเกินไป เมื่อตัดยอดเขาจะแตกใบด้านข้างให้เยอะกว่าปกติ

ประสบการณ์การกำจัดเพลี้ยและเชื้อราแบบปลอดภัย และได้ผลดี

จากคำบอกเล่าของผู้ที่ประสบปัญหาเรื่องเพลี้ยและเชื้อรา ที่แก้แล้วไม่หาย ไม่ได้ผล ส่วนใหญ่จะบอกว่าใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อกำจัดเพลี้ยและเชื้อรา ยี่ห้อต่างๆมาลองจนหมดหนทาง จึงตัดสินใจมาขอคำปรึกษาและเลือกใช้อีเรฟ (erev) จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยและเชื้อรา ผลปรากฎว่าแก้ปัญหาเรื่องเพลี้ยและเชื้อราได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้น อีเรฟยังช่วยเร่งการแตกราก ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี มีภูมิต้านทานต่อโรคและศัตรูพืช ซึ่งตรงนี้ที่พิสูจน์ให้เห็นชัดเจน คือ ฟาร์มผักไฮโดโปรนิกส์ จะใช้จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยและเชื้อราไปฉีดพ่นที่ผัก ทำให้ผักแตกรากเยอะ และเติบโตดีกว่าวิธีการเพาะปลูกแบบปกติ

ทำไมปัญหาเรื่องเพลี้ยและเชื้อรา ต้องแก้ด้วยวิธีการแบบอินทรีย์ชีวภาพ

เพราะเป็นการแก้ปัญหาด้วยวิธีการฟื้นฟู แก้ไข ที่ต้นเหตุของปัญหา ตั้งแต่ระบบราก  ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยช์ในดิน และกำจัดไข่ การขยายพันธุ์ของเพลี้ยและเชื้อรา

ซึ่งแตกต่างจากระบบเคมี ที่ส่งผลเสียในระยะยาว ทั้งดิน สุขภาพของผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องวนเวียนอยู่กับเคมีไม่จบสิ้น

ไทรเกาหลี

ร้อยละ 99% มาจบที่อีเรฟ จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยและเชื้อรา และจุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช 

ถ้าอุปมาต้นไม้ที่ถูกเพลี้ยและเชื้อราระบาด คือ “คนป่วย” การจะให้คนป่วยทานแต่ยารักษาโรคเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ร่างกายยังขาดอาหาร ก็จะทำให้ฟื้นฟูจากการป่วยได้ช้า

ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแบบอินทรีย์ชีวภาพของ อีเรฟ คือ การแก้ปัญหาในคราวเดียว ทั้งการรักษา และการเพิ่มธาตุอาหาร ไปพร้อมๆกัน นี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้การกำจัดเพลี้ยและเชื้อราได้ผลดีจนลูกค้าต้องชม และแนะนำต่อๆกันไป

วิธีใช้ อีเรฟ (erev) ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก 

  1. ใช้จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยและเชื้อรา (ฉลาดสีแดง) ฉีดพ่นที่ใบให้ชุ่มในช่วงเย็นทุกๆ 3 วัน โดยให้ราดโคนต้นให้ชุ่มในครั้งแรก หรือกรณีต้นที่โทรม เหลือแต่กิ่ง ให้ราดโคนต้นทุกๆ 15 วัน
  2. ใช้จุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช (ฉลากเขียว) ฉีดพ่นใบสัปดาห์ละครั้ง เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช

กรณีรอบฉีดพ่นตรงกัน สามารถผสมน้ำฉีดพ่นได้ในคราวเดียว การฉีดพ่นน้ำทำได้ง่ายๆ ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และสัตว์เลี้ยง ไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวนเพื่อนบ้าน

รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อีเรฟ คลิกที่นี่

หรือสั่งซื้อได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/erevthai

สั่งซื้อผ่านไลน์ช้อป : https://shop.line.me/@erevthai

Line ID : @erevthai

Rating: 5 out of 5.