วิธีปลูกผักเคล (Kale) ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ทั้งปี

ผักเคล

ถ้าคุณชื่นชอบทานผักใบ ประเภทผักคะน้า แต่ไม่อยากซื้อผักจากตลาด เพราะกลัวว่าจะไม่ปลอดภัย ปนเปื้อนสารเคมี อาทิ ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง เป็นต้น

แต่หากจะปลูกทานเองก็เกรงว่าจะไม่งาม และโดนศัตรู เช่น เพลี้ย หนอน หอยทาก เล่นงานไปเสียก่อน เราจึงขอแนะนำให้คุณปลูกผักเคล (Kale) เพราะเคลเป็นผักที่ปลูกง่าย ดูแลไม่ยุ่งยาก สามารถปลูกในดินหรือในกระถาง จะวางตรงระเบียงหรือลานบ้าน ก็ได้

เคล (Kale) เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหารได้หลากหลาย และง่ายสุด ๆ สำหรับผู้เริ่มต้น เช่น นำไปผัดกับเนื้อสัด เป็นผักสลัดจานโปรด หรือนำไปทำเป็นน้ำผักที่แสนอร่อยและมากด้วยคุณประโยชน์อีกด้วย

ผักเคล (Kale) มีกี่ชนิด อะไรบ้าง?

เคล(Kale) มีหลากหลายพันธุ์ และน่าลองปลูกทุกๆสายพันธุ์เลยทีเดียว

พันธุ์ใบหยิก มีแนวโน้มที่จะอยู่ได้นาน แต่โดยทั่วไปแล้วประเภทใบแบนจะเติบโตเร็วกว่าใบหยิก มีบางพันธุ์ที่ควรพิจารณา คือ :

  • ฮันโนเวอร์สลัด เป็นเคลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นต้นตำหรับแห่งเคล (เคลใบหยิก) มีรสชาติที่น่ารับประทานเมื่อรับประทานดิบแบบสลัด
  • Lacinato เป็นผักเคลที่มีรอยย่นจากทัสคานี บางครั้งก็เรียกว่าเป็นผักเคล Tuscan หรือเคลไดโนเสาร์ ใบหนาของมันค่อข้างแข็งแกร่ง สามารถเก็บเกี่ยวได้แม้หลังจากหิมะตกในต่างประเทศ
  • เรดบอร์ มีใบสีม่วงแดงที่มีขอบหยัก มีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่นุ่มนวล
  • รัสเซียแดง มีใบเรียบ และอ่อนนุ่ม มีเส้นสีม่วงและขอบสีม่วง ถือเป็นหนึ่งในพันธุ์เคลที่รสชาติหอมหวานที่สุด
  • Vates เป็นผักคะน้าสีเขียวอมน้ำเงิน มีลักษณะแคระ หยิกหยักศก ที่ทนต่อความร้อนและความเย็น ซึ่งได้มาจากเคลสายพันธุ์ Dwarf Blue Curled Scotch

เคลไดโนเสาร์

การเลือกสถานที่สำหรับปลูกผักเคล (Kale)

เคล (Kale) เติบโตได้ดีพอๆกัน ระหว่างการปลูกลงดิน ในแปลง และภาชนะเพาะปลูกชนิดต่างๆ

นอกจากนี้ยังสามารถเติบโตในที่ร่มได้ ตราบเท่าที่มีแสงสว่างเพียงพอ ดินที่อุดมด้วยอินทรีย์วัตถุ และมีการระบายน้ำที่เหมาะ พื้นที่ปลูกควรได้รับแสงแดดเพียงพอ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเคลนั้นไม่ใกล้กับต้นไม้ใหญ่ ที่สูงบังแดดมากจนเกินไป

ทำไมถึงควรปลูก ผักเคล (Kale) ในกระถาง หรือถุง?

ผักเคล (Kale) นั้นเป็นผักที่ง่ายต่อการปลูกในกระถาง หรือปลูกลงถุง นอกจากนี้ยังมีข้อดีสำหรับปลูกในถุงอีกหลายอย่าง อาทิ

  1. เพราะเราสามารถเคลื่อนที่ หรือเคลื่อนย้ายไปในที่ที่มีแสงแดดเพียงพอ ภายใต้สภาพอากาศอากาศ ทิศทางของแสงแดดที่เปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ
  2. นอกจากนี้ ยังช่วยปกป้องเคลที่เราปลูกจากสัตว์ในสวน เช่น หนู กระรอก หอยทาก ที่อาจมาแทะเล็มใบเคลของเราได้
  3. การปลูกผักเคล (Kale) ลงถุง หรือกระถาง นั้นยังทำให้ดูสวยงาม สามารถนำผักเคลที่เราปลูกมอบให้กับคนที่เรารักได้อีกด้วย
  4. กรณีมีพื้นที่เพาะปลูกไม่มาก เนื่องจากไม่มีสวน หรือสภาพดินที่เพาะปลูกนั้นดินไม่ดี ก็สามารถปลูกเคลได้อีกด้วย

การเลือกภาชนะเพาะปลูกเคลนั้น ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 6-12 นิ้ว และมีรูระบายน้ำเพียงพอ วัสดุปลูกที่เป็นภาชนะดินเผาที่ไม่เคลือบ ก็นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะช่วยให้ความชื้นในดินส่วนเกินเล็ดลอดผ่านผนังได้ ช่วยป้องกันไม่ให้รากเน่า ใช้วัสดุเพาะที่มีคุณภาพ ยิ่งส่วนผสมนั้นเป็นออร์แกนิกก็ยิ่งเป็นทางเลือกที่ดี

เคล

การเก็บเกี่ยวผักเคล (Harvest Kale)

โดยปกติ จะใช้เวลาประมาณ 30-40 วัน จะถึงอายุเก็บเกี่ยว เพื่อให้ต้นเคลเติบโตเต็มที่ หลังจากที่เพาะเมล็ด ผักเคลที่ปลูกในฤดูหนาวจะเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าที่ปลูกในฤดูร้อน และรสชาติก็จะอร่อยกว่าที่ปลูกในฤดูร้อน

ในการเก็บใบเคลนั้น เราจะเด็ดใบที่อยู่รอบนอกออกก่อน แล้วปล่อยให้ยอดเคลเติบโต พอเราเด็ดใบเขาก็จะแตกใบใหม่ให้เราอยู่เรื่อยๆ ซึ่งเราสามารถเก็บเกี่ยวเคลได้เป็นเวลา 1-2 ปี เลยทีเดียว

และการเก็บผักเคลในช่องแช่ผักนั้น จะรักษาความสดของผักเคลได้มากกว่า 1 สัปดาห์เลยทีเดียว

ประโยชน์ของผักเคล ทำไมถึงกลายเป็นซุปเปอร์ฟู้ด (Super Food)

เคล (Kale) คือหนึ่งในผักที่ดีที่สุด (Super Food) ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารอาหาร และมีสารช่วยระบบการย่อยอาหารอันทรงพลัง นี่คือ 4 เหตุผลหลักที่จะทำให้ผักเคล เข้ามามีส่วนสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิต คือ

  1. เคล (Kale) อัดแน่นไปด้วยวิตามิน การรับประทานผักเคลสับ 1 ถ้วย จะทำให้คุณได้รับวิตามินเอ มากกว่า 200% ในแต่ละวัน วิตามินซี 134% ต่อวัน และวิตามินเค เกือบ 700% ในแต่ละวัน นอกจากนี้เคลยังมีแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แมงกานีส โพแทสเซียม และทองแดง
  2. เคล (Kale) มีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย เช่น เควอซิตินจากผักเคลมีคุณสมบัติต้านไวรัส และอาจรักษาโรคไข้หวัดได้ แคโรทีนอยด์ Lutein และ Zeaxanthin ในเคล ช่วยป้องกันสภาวะทางสายตา เช่น จอประสาทตาเสื่อม และต้อกระจก เป็นต้น
  3. เคล (Kale) มีไขมันและไฟเบอร์ที่ดี มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 120 มก. ต่อถ้วย ซึ่งดีกว่าพืชอื่นๆทั่วไป นอกจากนี้ เคลยังให้ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ได้รับไม่เพียงพอ ไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ จะกลายไปเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ (Probiotics) และผลิตสารสำคัญที่มีประโยชน์ในการกำจัดเชื้อโรคและสร้างภูมต้านทานโรคที่เรียกว่า โพสต์ไบโอติกส์ (Postbiotics) นั่นเอง
  4. เคล (Kale) จะช่วยให้ระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกายดีขึ้น จากผลทดลองพบว่า การดื่มน้ำเคล ช่วยให้ระดับไขมันดีขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ เคลยังช่วยลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันต่อ LDL ตามที่อธิบายไว้ในการศึกษาที่สำคัญนี้ การลดการเกิดออกซิเดชันของ LDL มีนัยสำคัญในแง่ของความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

ผักเคล (Kale) ชอบสภาพแวดล้อมแบบไหน ?

ก่อนจะลงมือปลูกเคล (Kale) ก็ควรทำความเข้าใจนิสัย และสภาพแวดล้อมที่ผักเคลชอบกันก่อน

ดิน (Soil)

เคล (Kale) เจริญเติบโตได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีอินทรียวัตถุสูง โดยมีค่า pH ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย ต้องการปริมาณไนโตรเจนจากสารอินทรีย์ในปริมาณที่สูง เพราะมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของใบ และดินเพาะปลูกควรระบายน้ำได้ดี

น้ำ (Water)

หมั่นรดน้ำเคลเป็นประจำ เพื่อให้ดินชุ่มชื้นสม่ำเสมอ แต่ห้ามไม่ให้แฉะ โดยทั่วไปเคลจะชอบน้ำ 1 ถึง 1 1/2 นิ้วต่อสัปดาห์ นอกจากอุณหภูมิที่เย็นแล้ว ดินที่ชื้นยังช่วยให้ใบของเคลมีรสหวานและกรอบมากกว่า และจะไม่แข็งและมีรสขม การคลุมดินรอบๆ ต้นเคล ช่วยลดอุณหภูมิ ทำให้ดินมีความเย็น และรักษาความชื้นไว้

แสงแดด (Sun)

เคล (Kale) เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในช่วงแดดจัดถึงร่มเงาบางส่วน จึงจำเป็นที่จะต้องวางแผนให้เคลได้รับแสงแดดโดยตรงอย่างน้อย 6 ถึง 7 ชั่วโมงต่อวัน หากต้องการปลูกเคลในฤดูที่มีอากาศร้อน จำเป็นต้องมีการพลางแสงเพื่อมิให้ร้อนจนเกินไป พร้อมกับเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมทนความร้อนได้ดีอย่างไดโนเคล ก็จะช่วยให้ผักเคลอยู่รอด และให้ผลผลิตที่ดี

ธาตุอาหารพืช หรือ ปุ๋ย (Fertilizer)

การผสมดินเพาะปลูกครั้งแรก ควรผสมปุ๋ยอินทรีย์กับดินเพาะปลูกด้านบนของถุงลึกลงไปประมาณ 3-4 นิ้ว (เพราะธาตุอาหารจะถูกชะล้างลงที่ก้นถุง) และหมั่นเติมปุ๋ยอินทรีย์เป็นระยะๆ

TIPS ; กรณีที่ต้องการผลผลิตที่ดี รสชาติดี และผักเคลกรอบอร่อย ให้ใช้อีเรฟจุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช ผสมน้ำในอัตราส่วน 100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร แล้วบ่มดินไว้ก่อนการเพาะปลูก ในระหว่างที่เคลเจริญเติบโต ให้ฉีดพ่นจุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช อีเรฟ (50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) สัปดาห์ละครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์แต่อย่างใด เพราะอีเรฟ มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ที่จำเป็นต่อพืชอย่างครบถ้วน

ธาตุอาหารพืชสำหรับผักเคล

ศัตรูพืชและปัญหาของการปลูกเคล (Pesticide)

เคล (Kale) เป็นพืชที่ทน และต้านทานปัญหาวัชพืช ได้ค่อนข้างดี หากดินมีค่า pH ที่เหมาะสม เป็นกรดอ่อนๆ ก็จะไม่ถูกรบกวนจากวัชพืช

เคล (Kale) จะมีปัญหาได้หากหนอนผีเสื้อต้องการวางไข่ ควรหมั่นสำรวจว่าต้นเคลนั้น ปลอดจากเพลี้ยอ่อน โดยธรรมชาติแล้ว เคลมักจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืชมากนัก

แต่ถ้าหากต้องการป้องกัน หรือกำจัด พร้อมกับเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเคล สามารถใช้ อีเรฟจุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยและเชื้อรา ฉีดพ่นที่ต้นเคลได้ เพราะผลิตจากจุลินทรีย์ปลอดภัย ไม่มีสารเคมี จึงเหมาะที่จะใช้กับพืชผักที่ปลูกไว้รับประทานเป็นอย่างยิ่ง

น้ำเคล

ด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพอันน่าอัศจรรย์เหล่านี้ เคลจึงเป็นพืชที่ต้องมีในเมนูของอาหาร 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถใส่ผักเคลในซุป เมนูผัด ซอสเพสโต้ หรือทำเป็นเครื่องดื่มก็ได้

สำหรับใครที่เพิ่งรู้จักผักนี้ ลองพิจารณาสูตรคะน้าชิปที่ง่ายและอร่อยเพื่อเริ่มต้น และเช่นเคย พยายามซื้อออร์แกนิกเมื่อเป็นไปได้!

 

ด้วย “เคล (Kale)” ที่เป็นซูปเปอร์ฟู้ด (Super Food) ผักต่างประเทศ ปลูกในไทย ราคาผักเคลก็ไม่ได้สูงมากนัก ถ้าเทียบกับผักสลัดอื่นๆ จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่ปลูกผักเคลนี้ เพราะผักเคลนั้นปลูกง่าย ดูแลเคลก็ไม่ได้ยุ่งยาก  โตไว ทนทาน และให้ผลผลิตตลอด จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกเพื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร ไม่ว่าจะทานสดแบบสลัด หรือจะนำไปสกัดเย็นเป็นน้ำผักไว้ดื่มก็ได้เช่นกัน

ผลิตภัณฑ์ของอีเรฟไทย (erevthai)

ผลิตและจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์สำหรับเกษตรอินทรีย์ที่ปราศจากสารเคมี

“ปลอดภัยต่อชีวิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

ท่านสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่ https://www.erevthai.com

หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ที่ :

โทร : 083-29I-I495

LINE ID : @erevthai (มี@นำหน้า)

This entry was posted in Garden and tagged .