นับวันกระแสการปลูกผักออกแกนิคไว้รับประทานเอง เริ่มมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นอยู่เรื่อยๆ เพราะพืชผัก ผลไม้ ที่เราซื้อมารับประทานนั้นความปลอดภัยจากการปนเปื้อนน้อยมาก แม้กระทั่งพืชผักที่ได้รับรองมาตรฐานออแกนิคเองก็ยังตรวจพบสารเคมีปนเปื้อนเกินกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐาน ตรงนี้เองที่เป็นมูลเหตุจูงใจที่ทำให้ใครๆก็อยากปลูกผักไว้รับประทานเอง แต่ติดตรงที่จะปลูกอย่างไรให้รอดและงาม บทความนี้จึงอาสาช่วยให้ความรู้สำหรับการทำปุ๋ยอินทรีย์แบบง่ายๆเพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปลูกผักไว้รับประทานเองได้ไม่ยาก
ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุทางธรรมชาติ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช อาทิ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรแตสเซียม ซึ่งอินทรีย์วัตถุที่นิยมนำมาหมักมักเป็นสิ่งที่มีอยู่ในท้องถินอยู่แล้ว ได้แก่ ใบไม้ มูลสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ เป็นต้น
การปลูกผักไว้รับประทานเองแท้จริงแล้วนอกจากเราจะได้อาหารที่ปลอดภัยไว้รับประทานแล้วนั้น ขั้นตอนหรือกระบวนการก่อนที่ผลิดอก ออกผล จนกลายมาเป็นอาหารจะเข้าสู่ปากเรานั้น มันมีประโยชน์และคุณค่ามากมาย
วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้ปลูกผักสวนครัวและผักออแกนิคอื่นๆนั้น สามารถทำได้ง่าย โดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ดินถุงที่วางขายทั่วไปมาปลูกพืชผัก เพราะผักที่เราปลูกจะเจริญเติบโตช้า หรือไม่เจริญเติบโตเลย ทำให้เสียเวลาและหมดกำลังใจในการเพาะปลูกไป แล้วก็จะมาพร่ำบ่นและโทษว่าตนเองเป็นคนมือร้อนปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น แท้จริงแล้วอยู่ที่การปรุงดิน ไม่ได้อยู่ที่มือร้อนหรือเย็น
สำหรับการปรุงดินนั้น ผู้เขียนเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นสูตรปรุงดินของลุงสุเทพ กุลศรี และของจอนนอนไร่ ผู้อ่านก็สามารถไปลองอ่านทบทวนดูได้ หรือติดตามอ่านบทความอื่นจากทางเว็ปของเรา ซึ่งจะแป่งปันความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์อยู่เรื่อยๆ
บทความนี้ผู้เขียนถือโอกาสแนะนำตั้งแต่การปรุงดินเพื่อการปลูกผักสลัดไปจนถึงการเก็บเกี่ยวเลย เพราะถือว่าผักสลัดเป็นพืชที่นิยมปลูกไว้ทานเอง ปัญหาโรคและแมลงน้อย ซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์กับการปลูกอื่นๆได้อย่างแน่นอน
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมวัสดุเพาะ ได้แก่ มูลสัตว์ ขุยมะพร้าว ดิน อย่างละ 1 ส่วน คลุกเข้าให้เข้ากัน ค่อยๆรดด้วยน้ำเปล่าให้ซึมช้าๆ แค่พอมีความชื้น อย่าให้แฉะ ถ้าจะให้ดีแนะนำให้เติมรำอ่อน 25% ของวัสดุเพาะทั้งหมด เพราะจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชผสมวัสดุเพาะให้เข้ากัน ตักใส่ถุงบ่มไว้ประมาณสองสัปดาห์ โดยไม่ให้โดนแดด
ขั้นตอนที่ 2 เพาะกล้าผักสลัด ให้นำเมล็ดผักสลัดแช่น้ำอุ่นอย่างน้อย 6 ชั่วโมงเพื่อกระตุ้นการงอก จากนั้นนำไปเพาะบนวัสดุเพาะและโรยกลบด้วยดินเพาะ 1 เซ็นติเมตร พอกล้าเริ่มงอกให้นำไปวางไว้ในที่มีแสง และรดน้ำทุกวันอย่าให้แห้งหรือเฉะ
ข้อสังเกต หากกล้ามีต้นยืดสูง แสดงว่าแสงน้อยเกินไป ใช้ไม่ได้ให้เพาะใหม่ เพราะต้นกล้าไม่แข็งแรง ปลูกไปก็เสียเวลาเปล่า
ขั้นตอนที่ 3 การดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อต้นกล้าผักเริ่มเติบโต เขาต้องการแสงแดดจัด แต่ไม่ชอบร้อน เราจะต้องจัดให้เขาได้รับแสงเต็มที่ ผักสลัดจะโตเร็วขึ้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 21 ดังนั้นควรให้ธาตุอาหารพืชทางใบสัปดาห์ละครั้ง จนถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน ถ้าเราปล่อยให้ผักสลัดมีอายุนานกว่านั้น ผักจะมีรสชาติขม ไม่อร่อย
ท่านที่เคยใช้ดินถุงที่วางขายทั่วไปมาปลูกผักจะทราบดีว่า ปลูกแล้วโตช้า ไม่งาม ทางเรามีวิธีแนะนำเพิ่มเติม โดยให้นำเอ็นไซม์ธาตุอาหารพืชอีเรฟ มาผสมน้ำเปล่าในอัตราส่วน 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลงบนดินถุงให้พอชื้น แล้วนำมาบ่มทิ้งไว้ 7-14 วัน จากนั้นนำไปเพาะปลูกพืชผัก ก็จะทำให้พืชผักโตได้ดีเหมือนกับดินที่เราปรุงเอง แบบที่แนะนำไว้ในข้างต้น
สรุปการทำปุ๋ยหรือปรุงดินเพื่อปลูกผักรับประทานเองนั้นไม่ยาก ดังนิยามที่เรากล่าวไว้เสมอว่า
“ถ้าปรุงดินให้ดี เคมีก็ไม่จำเป็น”
Pulsator Sprinklers เป็นสปริงเกอร์อิสราเอล ผสมเทคโนโลยีอเมริกา ประหยัดน้ำได้มากกว่า 10-20 เท่า เหมาะกับสนามหญ้า แปลงปลูกผัก หลังคา
ต้นไม้ใบไหม้นั้นอาจมีหลายสาเหตุ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากปัญหา เพลี้ย เชื้อรา แมลงศัตรูพืชระบาด เข้าทำลายท่อน้ำเลี้ยง ทำให้ต้นไม้ขาดธาตุอาหาร
ต้นคริสติน่าปลูกแนวรั้ว บางครั้งอาจพบว่ามีอาการใบเหลือง ใบร่วง ใบไหม้ ดังนั้น บทความนี้จึงแนะนำวิธีดูแล ตลอดจนราคาสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแหล่งซื้อมาปลูก
ต้นโมกใบเหลือง ใบหงิก ใบร่วง ใบบาง มักมีสาเหตุมาจากแมลงศัตรูพืชระบาด อาทิ เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ทำให้ท่อลำเลียงเสียหาย ระบบสังเคราะห์แสงจึงไม่สมบูรณ์
ต้นโมกเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมนำมาปลูกประดับสวน ทำรั้วต้นไม้ บทความนี้จึงรวมคำถาม เช่น ต้นโมกราคา เท่าไหร่ ปลูกยากไหม ชอบแดดไหม ฯลฯ
การปลูกกุหลาบนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย ที่มีส่วนสําคัญในการช่วยให้ต้นกุหลาบมีสุขภาพดี และผลิดอกได้อย่างสวยงามตลอดเวลา แม้มือใหม่ปลูกกุหลาบ ถ้าเข้าใจ 6 เรื่องนี้