Categories: Garden

5 โรคและศัตรูพืชในกุหลาบที่พบบ่อย พร้อมวิธีแก้ไข ป้องกัน

กุหลาบ เป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากต้นกุหลาบนั้นมีดอกที่หอม สีสันสวยงาม แต่สิ่งที่มีปัญหาสำหรับการปลูกกุหลาบคือ ถูกโรค และแมลงศัตรูพืช โจมตีอยู่ตลอดเวลา ทำให้เป็นปัญหาที่ชวนปวดหัวสำหรับคนรักกุหลาบเลยทีเดียวเชียว

สำหรับโรคและศัตรูพืชในกุหลาบนั้น จะพบบ่อยๆ จะมีอยู่ 3 โรค และ 2 ศัตรูกุหลาบ ดังนี้

โรคและศัตรูพืชในกุหลาบ 3 โรค

โรคใบจุดดำในกุหลาบ

โรคใบจุดดำเกิดจากเชื้อรา Diplocapon Rosae โดยจะเป็นจุดสีดำบริเวณด้านบนของใบ มีขนาดประมาณครึ่งเซ็นติเมตร บริเวณที่เกิดจุดดำนั้นเส้นใยจะถูกทำลาย ระบบการลำเลียงอาหารถูกชะงักลง 

เชื้อราสีดำนี้จะฟุ้งกระจายปลิวไประะบาดที่กิ่งหรือใบอื่นๆได้อีก พอต้นกุหลาบได้รับความชื้นติดต่อกันเป็นเวลานาน สปอร์ของเชื้อราสีดำก็จะงอกและทำลายเส้นใยตามใบต่างๆต่อเนื่อง หากไม่รีบแก้ไข หรือตัดต้นตอเชื้อราสีดำก่อน 

ช่วงที่มีการระบาดรุนแรงมักจะเป็นช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นฤดูที่สภาพอากาศมีความชื้นมากเป็นพิเศษ หรือช่วงฤดูหนาวเนื่องจากมีน้ำค้างเกาะที่ต้นกุหลาบ

โรคราแป้งในกุหลาบ

เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Oidium sp. ลักษณะอาการคือจะมีจุดแดงบนใบกุหลาบ จากนั้นจะค่อยๆ เห็นเส้นใย และสปอร์ชัดเจน เชื้อรากลุ่ม Oidium sp. จะมีลักษณะคล้ายฝุ่นแป้ง กระจายเป็นหย่อมๆไปทั่ว จนหนักขึ้น จะสังเกตุว่าฝุ่นแป้งนั้น แพร่กระจายไปทั่ว กิ่ง ใบ ลำต้น ก้าน ดอก กลีบดอก ทำให้มีลักษณะใบย่น บิดเบี้ยว เสียรูปทรง จากนั้นต้นกุหลาบจะขาดธาตุอาหาร ใบจะเริ่มเหลือง ใบร่วง พอนานเข้ากิ่งใบจะแห้งกรอบ และตายในที่สุด

กรณีที่ออกดอก และดอกยังตูมๆอยู่ ดอกนั้นจะไม่บานต่อ เพราะต้นกุหลาบหยุดการเจริญเติบโต

โรคราแป้งในกุหลาบนี้ มักจะระบาดในช่วงหน้าหนาว เพราะเป็นช่วงที่มีน้ำค้างเกาะที่ใบ

โรคราสนิมกุหลาบ

เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Coleosporium sp. ต้นกุหลาบที่เป็นโรคนี้ จะมีลักษณะบริเวณใบด้านล่างจะมีสีส้ม สีคล้ายๆสีของสนิม ด้านบนของใบจะมีจุดสีเหลืองๆ และค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยจำเกิดกับใบที่แก่แล้ว

โรคราสนิมกุหลาบนี้ จะแพร่ระบาดหนักในช่วงฤดูฝน ช่วงที่สภาพภูมิอากาศมีความชื้นมากๆ

แมลงศัตรูพืชในกุหลาบ 2 ชนิด

เพลี้ยไฟในกุหลาบ

เพลี้ยไฟกุหลาบมี 2 ชนิด คือ Scirtothrips dorsalis และ Thrips coloratus 

เพลี้ยไฟคือแมลงที่มีขนาดเล็กๆ ประมาณ 2 มม. ตัวอ่อนเพลี้ยไฟและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟ จะมีรูปร่างคล้ายกัน แต่จะมีสีน้ำตาล และดำเข้ม เมื่อโตขึ้น ซึ่งเพลี้ยไฟนี้จะมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีปีก และชนิดที่ไม่มีปีก 

เพลี้ยไฟจะแพร่กระจายได้รวดเร็วหากมีลม จะเคลื่อนไหวในช่วงเวลากลางวัน โดยเฉพาะช่วงเช้า ถึง ช่วงเที่ยงวัน 

เมื่อเพลี้ยไฟถูกรบกวน เขาจะกระโดดหนีอย่างรวดเร็ว หรือบิน หรืออาจจะใช่วิธีการแอบซ่อนตัว 

 เพลี้ยไฟจะระบาดได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเทียบกับเพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยอื่นๆ โดยเพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงของใบอ่อน หรือส่วนที่อ่อนของต้นกุหลาบ เช่น ตาดอก ใบอ่อน ยอดอ่อน เมื่อต้นกุหลาบขาดธาตุอาหาร ก็จะมีใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุด

การขยายพันธุ์ของเพลี้ยไฟนั้นรวดเร็วมาก โดยเพลี้ยไฟจะฟักไข่ด้วยการม้วนใบอ่อนของต้นกุหลาบ เพื่อแตกลูกหลานอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ควรรีบแก้ไขด้วยการกำจัดตัวเพลี้ย ไข่อ่อน อย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการตัดตอน ก่อนที่จะแพร่ระบาดอย่างหนัก

แมลงหวี่ขาวในกุหลาบ

แมลงหวี่ขาว หรือที่มีชื่อเรียกว่า Bemisia tabaci เป็นกลุ่มแมลงที่ชอบวางไข่ใต้ใบของกุหลาบ แนบแน่นติดกับเนื้อเยื่อของกุหลาบเลย มีลักษณะเป็นวงรียาว มีสีเหลืองอ่อนๆ ขนาดของไข่เล็กมาก ประมาณ 0.10-1.30 มม. 

ตัวอ่อนของแมลงหวี่ขาวจะเป็นตัวแบนๆ จะลอกคราบสามครั้ง ระยะฟักตัวประมาณ 18 วัน จากนั้นจะกลายเป็นตัวดักแด้อีก 1 สัปดาห์ จากนั้นก็จะโตเต็มวัน 

แมลงหวีขาวนี้ จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใต้ใบของกุหลาบ ทำให้กุหลาบขาดธาตุอาหาร จึงมีใบเหลือง เหี่ยว แห้งตาย ในที่สุด

วิธีการแก้ไข ป้องกัน โรคและศัตรูพืชในกุหลาบที่ได้ผลดี

การแก้ไขปัญหาเรื่องโรค และแมลงศัตรูพืชในกุหลาบ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ได้ผลดีนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยากำจัดเพลี้ย ยากันเชื้อรา ที่ผลิตจากสารเคมีต่างๆเหล่านี้

เพราะสารเคมีต่างๆ นั้นจะถูกชะล้างลงไปในดินที่เพาะปลูก ทำให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อต้นกุหลาบ เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ช่วยผลิตธาตุอาหารให้กับกุหลาบต้องตาย. หรือหยุดชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ต้นกุหลาบอ่อนแอ จึงง่ายต่อการถูกเพลี้ยระบาด แมลง เชื้อรา และศัตรูพืชโจมตีได้ง่าย

ในการแก้ไข และป้องกัน ตามแบบฉบับเกษตรปลอดภัย ไร้สารเคมี ที่ได้ผลดีจากฟาร์มกุหลาบต่างๆ หรือผู้ที่ชื่นชอบปลูกต้นกุหลาบที่บ้าน จะใช้วิธีแก้ปัญหา ฟื้นฟู และป้องกันในคราวเดียวกัน

แทนที่จะใช้เคมีเข้าไปทำลายศัตรูพืช ซึ่งส่งผลเสียต่อดิน ต้นกุหลาบ และทำลายจุลินทรีย์ดีในดิน ให้ทำตามวิธีการ ดังนี้

กรณีเริ่มต้นปลูกกุหลาบ หรือ ยังไม่มีการระบาดของศัตรูพืช

  1. ให้ใช้อีเรฟ  จุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช ผสมน้ำในอัตราส่วน 100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ผสมในดินเพาะปลูก แล้วบ่มดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการปรับปรุงดิน เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ธาตุอาหารให้พร้อมก่อนการปลูกกุหลาบ
  2. ฉีดพ่นอีเรฟ จุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช อัตราส่วน 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทั้งใบและลำต้น สัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้อาหารทางใบ และสร้างภูมิต้านทานต่อโรคให้กับกุหลาบ

กรณีเกิดโรคและศัตรูพืชในกุหลาบระบาดแล้ว

1. ให้ใช้อีเรฟ จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยและเชื้อรา (ขวดสีแดง) ผสมน้ำในอัตราส่วน 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น และรดที่โคนต้น ดังนี้

  • วันที่ 1 ฉีดพ่นที่ใบและลำต้นในช่วงเย็นให้ชุ่ม พร้อมทั้งราดโคนต้นเพื่อกำจัดเชื้อรา และเร่งการแตกรากให้กับต้นกุหลาบ
  • วันที่ 2 ฉีดพ่นที่ใบและลำต้นให้ชุ่มในช่วงเย็น
  • ทุกๆ 3 วัน ให้ฉีดพ่นที่ใบและลำต้น จนเพลี้ยและเชื้อราหมดไป ค่อยปรับความถี่ให้ห่างออกไปเป็น สัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง แทน
  • (กรณีที่ต้นกุหลาบถูกเพลี้ยและเชื้อราระบาดหนัก จนต้นกุหลาบโทรมมากๆ ให้ใช้อีเรฟ จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยและเชื้อราผสมน้ำตามอัตราส่วน ราดโคนต้นกุหลาบ 2 สัปดาห์/ครั้ง)

2 ให้ใช้อีเรฟ จุลินทรีย์ธาตุอาหารพืช (ขวดสีเขียว) ผสมน้ำในอัตราส่วน 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบ และลำต้น สัปดาห์ละครั้ง เพื่อช่วยฟื้นฟูต้นกุหลาบจากการขาดธาตุอาหาร เนื่องจากถูกเพลี้ยทำลายท่อน้ำเลี้ยงของต้นกุหลาบ

การแก้ไขด้วยจุลินทรีย์ของอีเรฟไทย เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งได้ผลดีเยี่ยม ผ่านการใช้งานจริงจำนวนมาก ทั้งในระบบฟาร์ม และปลูกต้นไม้ตามบ้าน 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อีเรฟ ได้ที่ลิงค์นี้

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกุหลาบ

ต้นกุหลาบ คือต้นไม้สกุล Rosa ในวงศ์ Rosaceae ที่ผู้คนทั่วโลกนิยมปลูกกันมากที่สุด มีต้นกำเนิดมาจากทางโซนทวีปเอเชีย ผู้คนจะนิยมปลูกต้นกุหลาบเพื่อความสวยงาม จัดตกแต่งสวน ประดับตกแต่งสถานที่ หรือปลูกไว้เพื่อเชิงพาณิชย์ เช่น เพื่อนำดอกกุหลาบไปสกัดเป็นน้ำหอม ซึ่งนิยมใช่กันมากในธุรกิจของกลุ่มสปา 

ข้อมูลทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการปลูกกุหลาบในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบทั่วประเทศ ที่ปลูกเพื่อตัดดอกทั้งหมดราวๆ 5,000 กว่าไร่ กระจายอยู่ทั่วประเทศ ตามภูมิภาคต่างๆ ได้แก่

  • จังหวัดเชียงใหม่
  • จังหวัดเชียงราย
  • จังหวัดตาก
  • จังหวัดนครปฐม
  • จังหวัดสมุทรสาคร
  • จังหวัดราชบุรี
  • และจังหวัดกาญจนบุรี

พื้นที่ปลูกกุหลาบมากที่สุดคือ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยมีพื้นที่เพาะปลูกรวมราวๆ 3000 ไร่ เนื่องจากอำเภอพบพระ มีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการปลูกกุหลาบในเชิงเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก

สั่งซื้อสินค้าอีเรฟ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

https://m.me/erevthai

https://shop.line.me/@erevthai

Line : @erevthai

โทร : 083-291-1495

erevthai

Recent Posts

ทำไมสุดยอดสปริงเกอร์อิสราเอล ถึงประหยัดน้ำได้มากกว่า 10 เท่า

Pulsator Sprinklers เป็นสปริงเกอร์อิสราเอล ผสมเทคโนโลยีอเมริกา ประหยัดน้ำได้มากกว่า 10-20 เท่า เหมาะกับสนามหญ้า แปลงปลูกผัก หลังคา

7 months ago

5 สาเหตุ ต้นไม้ใบไหม้เกิดจากอะไร แก้อย่างไรให้ได้ผลดี

ต้นไม้ใบไหม้นั้นอาจมีหลายสาเหตุ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากปัญหา เพลี้ย เชื้อรา แมลงศัตรูพืชระบาด เข้าทำลายท่อน้ำเลี้ยง ทำให้ต้นไม้ขาดธาตุอาหาร

7 months ago

ต้นคริสติน่าปลูกแนวรั้ว แต่ใบร่วง ใบไหม้ เกิดจากอะไร? แก้ไขง่ายๆ 5 ขั้นตอน

ต้นคริสติน่าปลูกแนวรั้ว บางครั้งอาจพบว่ามีอาการใบเหลือง ใบร่วง ใบไหม้ ดังนั้น บทความนี้จึงแนะนำวิธีดูแล ตลอดจนราคาสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแหล่งซื้อมาปลูก

9 months ago

วิธีแก้ปัญหาต้นโมกใบเหลืองให้กลับมาเขียวแน่น ด้วยวิธีปลอดภัย 3 ขั้นตอน

ต้นโมกใบเหลือง ใบหงิก ใบร่วง ใบบาง มักมีสาเหตุมาจากแมลงศัตรูพืชระบาด อาทิ เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ทำให้ท่อลำเลียงเสียหาย ระบบสังเคราะห์แสงจึงไม่สมบูรณ์

9 months ago

รวม 7 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับต้นโมกราคาเท่าไหร่ ชอบแดดไหม ฯลฯ

ต้นโมกเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมนำมาปลูกประดับสวน ทำรั้วต้นไม้ บทความนี้จึงรวมคำถาม เช่น ต้นโมกราคา เท่าไหร่ ปลูกยากไหม ชอบแดดไหม ฯลฯ

9 months ago

6 วิธีการดูแลกุหลาบ : ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กุหลาบออกดอก บานสะพรั่งตลอดปี

การปลูกกุหลาบนั้นขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย ที่มีส่วนสําคัญในการช่วยให้ต้นกุหลาบมีสุขภาพดี และผลิดอกได้อย่างสวยงามตลอดเวลา แม้มือใหม่ปลูกกุหลาบ ถ้าเข้าใจ 6 เรื่องนี้

11 months ago